อย่าไปแสดงความเป็นเจ้าข้าว
หากมิใช่ด้วย สัพพัญญุตาญาณ ดั่งที่พระพุทธองค์มีแล้ว
แม้จะตั้งตนเป็นผู้รู้ธรรมถ
มิต้องพักพูดถึง การอวด อุตตริมนุสสธรรม
(อุตริ อุตตร อุดร – เหนือ)
ธรรมที่มีเหนือมนุษย์ทั่วๆ ไป
พระพุทธองค์มิได้บอกว่า ไม่มี
แต่ทรงตรัสเตือนสงฆ์สาวก “แม้มี ก็มิให้อวด”
แล้วไม่มี ยังไปอวดว่ามีนั้น
วินัยแห่งสงฆ์ ถือถึงขั้น ปาราชิก ขาดจากความเป็นสงฆ์
อย่าแม้กระทั่ง ให้ผู้คนเชื่อ (ตามความคิดตน)
หรือไม่ให้เชื่อ (ตามแนวคิดผู้อื่น)
ที่มีต่อธรรมทั้งหลายที่พึง
เพราะธรรม เป็นของกลางจริงๆ
และการเข้าถึงธรรม ของแต่ละคนนั้นก็เป็น ปัจเจกวิธี
ต่างคนต่างมีความคิด เลือกที่จะเชื่อ
และ “ธรรม” ที่ว่านี้ มิได้ผูกอยู่กับ ความเชื่อเฉพาะ
ว่า ... ต้องเป็น ความเชื่อนั่น นี่ ศาสนา นี่ นั่น
ของฉัน ของอาจารย์ฉัน ของครูฉัน จึงใช่ อื่นๆ ไม่ใช่
แม้อริยสงฆ์ในสมัยพุทธกาล ท่านยังให้ความเคารพแก่กัน
เคยมีให้ได้ยินไหม ...
ฉัน มหากัสสป ผู้เลิศในธุดงควัตร
ย่อมมีวัตรปฏิบัติ ที่เหนือกว่า สารีบุตร ซิ
แม้เป็นอัครสาวกเบื้องขวา ก็เป็นพวก white collar
พวกนั่งโต๊ะ พวกคนในหอคอยงาช้าง บ้าตำรา
มีไหม ที่เคยได้ยินว่า
ฉัน สารีบุตร ผู้ทรงธรรมปัญญาอันเลิศ
ย่อมมีธรรมวุฒิ เหนือกว่า โมคคัลลาน์ ซิ
นั่น เขาเอาแต่ เล่นฤทธิ์ เล่นเดช
ถึงจะเป็นอัครสาวกเบื้อซ้าย
แต่จริงๆ แล้วเป็นสายเหยี่ยว เป็นพวก ขวาจัด
มีไหม ... เคยได้ยินบันทึกเช่นนี้ไหม ...
มีแต่ท่านทั้งหลายเหล่านั้น
จะสรรเสริญคุณธรรม แก่กันและกัน
เรื่อง ธรรม คือธรรมชาตินี้ ...
แม้พระพุทธองค์เอง ยังทรงกล่าวไว้ ...
พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม จะไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม
“ธรรมธาตุ” นั้น ย่อมตั้งอยู่แล้ว นั่นเทียว
คือความตั้งอยู่แห่งธรรมดา (ธัมมัฏฐิตตา)
คือความเป็นกฎตายตัวแห่งธรร
คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้เป
ธรรมธาตุใด ในกรณีนั้น
อันเป็น ตถตา คือความเป็นอย่างนั้น
เป็น อวิตถตา คือความไม่ผิดไปจากความเป็น
เป็น อนัญญถตา คือความไม่เป็นไปโดยประการอ
เป็น อิทัปปัจจยตา คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้เป
... ที่ส่วนตัวผม มีใจโน้มไปในแนวทางพระพุทธธ
ก็ด้วยเหตุนี้ คือหลักแห่งการเวียนเกิด – เวียนตาย
ของสรรพสัตว์ ตามแนวปฏิจฺจสมุปปาท ที่ว่านี้
มันมีความเป็นเหตุ เป็นผล
เป็นเรื่องปัจจัยธรรม (ธรรมที่เป็นปัจจัย) ที่ย่อมก่อให้เกิด
ปัจจยุบบันธรรม (คือธรรมอันเป็นผล)
แม้กระนั้น ก็ยังเคารพความคิด ความเห็น ความเชื่อ
ของท่านผู้อื่น มิได้ลบหลู่ หมิ่นแคลน
ด้วยเหตุที่มันเป็น ปัจเจกวิธี หรือวิธีการเฉพาะตน
การที่จะไป บังคับให้ผู้อื่น เชื่อ ไม่เชื่อ
การที่จะไปหมิ่นแคลนผู้อื่น
ดีแต่ปริยัติ รู้แล้วก็เหมือน นกแก้ว นกขุนทอง
นี่ .. มิใช่ ไม่นับ ว่าเป็นวิสัยของผู้ต้องการ เจริญธรรม
นกแก้ว นกขุนทอง พูดนั่น มันมาจากความบังเอิญ
ที่มันเรียนรู้แล้วหัดเปล่ง
ถึงจะให้มันหัดพูด “หิริ หิริ” “โอตตัปปะ โอตตัปปะ”
มิใช่ว่ามันพูดไม่ได้ มันพูดได้
แต่รู้เรื่องหรือไม่ เข้าใจลึกซึ้งไหม
รู้ละอายต่อชั่ว เกรงกลัวต่อบาปไหม? ... เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ส่วนคนเรา แม้เมื่อรู้ว่าตนยังหนาไปด้
แต่มีวาสนาแห่งกุศลวิบาก อยากเรียนรู้ธรรม
เมื่อได้เรียน ได้รู้ โสภณเจตสิก ตัวดี ๒๙ ตัว
เอาแค่ หิริ โอตตัปปะ พอ ... เข้าใจ ลึกซึ้ง รู้
นับจากนั้น เขาก็ปฏิบัติด้วยการเว้นชั่
จะนกแก้ว นกขุนทอง หรือเปล่า?
น่าพิจารณาได้ ...
เมื่อยึดเอา ไตรสรณคมน์ คือ
พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะแล้ว
สิ่งนี้คือครู-อาจารย์ ที่เคารพ ที่นับถือบูชา
จึง มิบังอาจตั้งตัวเป็นอาจารย์
จึง มิบังอาจชักชวนใคร ผู้ใด มาเป็นศิษย์
ผมขอมีแต่ มิตร ที่พึงแลกเปลี่ยนสนทนา
ถ้ารู้ใจกันแล้ว ก็พึงสนทนาแต่ “กถาวัตถุ ๑๐”
แต่เมื่อยังต้องข้องแวะอยู่
การสนทนาธรรมอื่นๆ ก็มีได้ เป็นได้
ไม่ถึงกับต้องเคร่ง ไม่ถึงกับเกร็ง
แต่แน่นอน มีโอกาสพาแวะเข้าพุทธธรรม
ก็จะไม่ละเว้น ... เช่นกัน
ขอความเจริญในพุทธธรรม พึงมี พึงบังเกิด
แก่ท่านทั้งหลาย ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น